วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Network


Network


"ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้" เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) ที่คุณผู้อ่านจะได้พบต่อไปนี้ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเช


อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 2 เครื่องขึ้นไปแล้ว ยังต้องมีอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างกันอีกด้วย ซึ่งจะต้องหาซื้อมาติดตั้งลงไปในเครื่อง อุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้งานคือการ์ดเน็ตเวิร์ก, สายแลนด์, หรือหัวต่อสายเคเบิ้ล, หัวต่อสายแลนด์, ฮับ, และสวิตช์การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Card)NIC (Network Interface Card) การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือการ์ดแลนด์ มีการนำมาใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ IBM PC นานร่วม 15 ปี มีหน้าที่ติดต่อสื่อสารและรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องเมนเฟรม และ เครื่องไมโคคอมพิวเตอร์ ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย
จากรูปที่ 2.1 เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส ISA ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว จะเห็นว่าที่ด้านหลังมีขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4,BNC และ Au ขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4 จะต้องทำงานร่วมกับกล่องฮับ ส่วนขั้วเชื่อมต่อ แบบ BNC ไม่ต้องใช้ฮับร่วมทำงาน เพราะใช้ T-Connector และ Terminator (ตัวปิดหัวท้าย) แทนการ์ดเน็ตเวิร์กจะมีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสลอตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ISA, PCI, PCMCIA USB Port หรือ Compact Flash PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมสูงมาก ซึ่งได้เข้า มาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์ต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์อินเทอร์เฟซอัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมาจะมองเห็นและใช้งานได้ทันที
PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เป็นการ์ดเสียบขนาดเล็ก เท่ากับบัตรเครดิต เป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น การ์ดหน่วยความจำ แฟกซ์ โมเด็ม การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือ ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก
USB Port (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อได้ จำนวนมากถึง 100 กว่าตัว



สายเคเบิ้ลในการเชื่อมต่อ
ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media) ซึ่งการใช้งานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่นแบบ Bus จะใช้สายเคเบิ้ล Coaxial, แบบ Star จะใช้สายเคเบิ้ล UTP สายเคเบิ้ลที่ใช้งานในระบบเน็ตเวิร์กจะมีอยู่ 3 ประเภทคือสาย Coaxial เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วยฉนวนสายยาง โดยจะมีลวดถักหุ้มฉนวนสายยางอีกชั้น (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้ายนอกเป็นยาง สีดำหุ้มอีกชั้น จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin) ส่วนมากจะใช้งานบนระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้ง 2 ด้ายจะต้องมีตัว terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำกว่าสายแบบ UTP สาย Coaxial อย่างบาง (thin) มีข้อเสียคือ ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร อาจต้องใช้ตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ช่วยขยายสัญญาณให้
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps
สาย STP (Shielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นคู่ตีเกลียวมีอยู่ 2 คู่ มีเส้นลวดถัก (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางไกลๆ ซึ่งสาย UTP ทำไม่ได้
หัวต่อสายแลนด์หัวต่อสายแลนด์จะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ BNC, RJ-45 และ AUI แต่ละประเภทจะใช้สายแลนด์แตกต่างกันไป รวมทั้งวิธีการเข้าหัวต่อก็ไม่เหมือนกันหัวต่อแบบ BNC จะใช้สายแลนด์แบบ Coaxial ซึ่งเป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดง เป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนสายยาง หัวต่อ BNC จะเป็นโลหะรูปวงกลมมีเกลียวสำหรับล๊อก และยังต้องใช้ตัว Terminator (มีความต้ายทาน 50 โอห์ม) ปิดปลายสายทั้ง 2 ด้ายอีกด้วย

หัวต่อแบบ RJ-45 จะใช้สายแลนด์แบบ CAT (Category) 5 หรือ สาย UTP เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้น ตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ รูปแบบในการเข้าหัวต่อแบบ RJ-45 มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ 1. Peer to peer 2. มาตรฐาน TIA/EIA 568B
Peer to peer เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่อง ด้วยสาย UTP เพียง 1 เส้น โดยเสียบหัวต่อ RJ-45 ไปที่การ์ดเน็ตเวิร์กของทั้งสองเครื่อง รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวต่อ RJ-45 มีดังนี้

มาตรฐาน TIA/EIA 568B เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ ฮับ รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวตัว RJ-45 มีดังนี้
การเชื่อมต่อแบบ BUSโปรโตคอล Ethernet สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus โดยใช้สาย Coaxial และแบบ Star ใช้สายทองแดงคู่ดีเกลียว (สาย UTP) การเชื่อมต่อแบบ Bus จะเป็นตามมาตรฐานของ 10Base2 เป็นรูปแบบเชื่อมต่อสายโดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) มีเส้นศูนย์กลาง ? นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร บางทีก็เรียกสาย Coaxial ว่าสาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) การเชื่อมต่อแบนี้ไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลาง ทำให้มีต้นทุนต่ำแต่ประสิทธิภาพการทำงานจะไม่ดีเท่าที่ควร วิธีการเชื่อมต่อสายระหว่างจุดต่อจะใช้ตัว T-Connector เป็นตัวกลาง และจะมีหัวต่อ BNC สำหรับต่อเข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก และสิ่งสำคัญจะต้องมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้านจากรูปที่ 2.13 ก. เป็นรูปการเชื่อมต่อสาย Coaxial เข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก โดยมีตัว T-Connector เป็นตัวกลาง โดยมีความยาวของสายในแต่ละช่วงจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร และมีตัว Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้านอีกด้วยปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ Bus ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน เพราะมีความเร็วต่ำเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีและข้อจำกัดด้านความยาวของสาย
ฮับ (Hub)ฮับ เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมโยงสัญญาณของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน ปกติจะเป็นเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT รูปแบบการเชื่อมต่อ หรือ LAN Topology จะเป็นแบบ Star การเชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ฮับเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ ทุกเครื่องจะเชื่อมต่อผ่ายฮับและใช้สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือ CAT5 กับหัวต่อแบบ RJ-45 ในการรับ-ส่งข้อมูล ฮับ จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) และฮับบางรุ่นยังสามารถตรวจจับข้อมูล (Data Detection) ต่างๆ เช่น Receive Sent Data, Jabbers, Collision Data, Short Frames
ฮับ จะอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 10 Mbps (Mega Bit per sec.) จนถึง 100 mbps และจะมีจำนวนช่องขนาดเล็กตั้งแต่ 4 ช่อง หรือเรียกว่า ฮับ 4 port (8 port, 12 port,16 port และ 24 port) การเลือกใช้การ์ดเน็ตเวิร์กก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับความเร็วของฮับ ถ้าใช้การ์ดเน็ตเวิร์กที่มีความเร็วเพียง 10 Mbps แล้วนำมาเชื่อมต่อกับฮับแบบ 10 Mbps จะทำให้มีอัตราความเร็วเพียง 10 Mbps เท่านั้น (หรือ ใช้การ์ดเน็ตเวิร์กที่มีความเร็ว 10 Mbps กับฮับแบบ 10 Mbps ก็จะทำให้อัตราความเร็วต่ำที่ 10 Mbps เช่นกัน) ฮับบางรุ่นจะมีพอร์ต Uplink เอาไว้เชื่อมต่อกับพอร์ตธรรมดาของฮับตัวอื่นเพื่อขยายช่องสัญญาณ และยังมีสวิตซ์ในการเลือกความเร็วระหว่าง 10 หรือ 100 Mbps ดังรูปที่ 2.15
การเชื่อมต่อแบบ Starการเชื่อมต่อแบบ Star จะเป็นตามมาตรฐานของ 10BaseT เป็นรูปแบบการใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band จะใช้สาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน 4 คู่ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน) ปัจจุบันนิยมใช้การเชื่อมต่อแบบนี้มากที่สุด



อุปกรณ์ของมืออาชีพ
จากที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงแรกเกี่ยวกับอุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อสร้างการเชื่อมโยงของเครือข่าย สำหรับหน่วยงานและองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตั้งแต่ 50-100 เครื่อง ที่ต้องเชื่อมต่อเข้าหากัน จะต้องมีอุปกรณ์ที่มีความเร็วและความสามารถสูงในการทำงาน เช่น Bridge, Switch, Switching Hub และ Router ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีการทำงานที่ซับซ้อนและราคาสูง ต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในการเซตอัพและปรับแต่งการทำงานบริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่การทำงานคล้ายๆ กับตัวทวนสัญญาณ (Repeater) โดยจะขยายสัญญาณให้มีระดับความแรงเพื่อส่งต่อไป แต่มีหน้าที่หลักคือเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมต่อเครื่อข่ายต่างระบบกัน เช่น ในหน่วยงานมีระบบเครือข่ายแรกเป็นแบบ Ethernet และมีระบบเครือข่ายที่สองเป็นแบบ Token-Ring ดังรูปที่ 2.17 จะเห็นว่าใช้บริดจ์เป็นสะพานในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง (บริดจ์ จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อจำนวน 2-4 พอร์ต คือ พอร์ต A , B, C, D)
นอกจากนี้บริดจ์ยังมีความสามารถในการตรวจสอบ Packet หรือ Frame ที่รับ-ส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เพื่อส่งข้อมูลไปยังอีกฟากหนึ่งของเครือข่าย โดยที่บริดจ์จะเก็บรวบรวมหมายเลข MAC (Media Access Control) Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเอาไว้ในตารางของบริดจ์เรียกว่า SAT (Source address Table) เพื่อจะได้ทราบว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่เซ็กเมนต์ใดบ้างสวิตช์ (Swith) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่รวมความสามารถของฮับและบริดจ์เข้าไว้ภายใน ตามปกติแล้วเครือข่ายของ Ethernet ไม่สามารถส่งข้อมูลพร้อมกันหลายเครื่องได้ จะต้องสลับกันส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมต่ออยู่บนโดเมนปะทะ (Collision Domain) กล่าวคือ ถ้าเกิดมีการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องบนระบบฯก็จะมีการกกระจายข่าวสารออกไปให้ทั้งเครือข่ายทราบ และเครื่องอื่นไม่สามารถจะรับ-ส่งข้อมูลได้ จนกว่าเครื่องทั้ง 2 จะรับ-ส่งข้อมูลกันเสร็จเรียบร้อย แต่สวิตซ์ทำให้สามารถจะส่งข้อมูลออกไปพร้อมๆ กันได้หลายเครื่องด้วยความเร็วสูงกว่า
การทำงานพื้นฐาน ถ้ามีการส่งข้อมูลจากเครื่องใดเครื่องหนึ่งบนเครือข่าย สวิตซ์จะจัดการส่งข้อมูลไปยังเครื่องนั้นโดยตรง ไม่มีการกกระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่องเพื่อให้เครื่องที่มี MAC Address ตรงกันรับไปเป็นการลดปริมาณข้อมูลทีวิ่งอยู่บนเครือข่ายอีกด้วย
ขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ จากรูปที่ 2.19 มีดังนี้1. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ D ต้องการจะส่งข้อมูลให้เครื่อง F ก็จะตรวจสอบช่องสัญญาณว่าว่างหรือเปล่าแล้วส่งข้อมูลไปยังเครื่อง F ผ่านตัวสวิตซ์2. ทำให้สวิตซ์ได้รับข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ D จากนั้นจะสร้างวงจรเสมือน หรือ Virtual Circuit ระหว่างเครื่อง D และ เครื่อง Fขึ้นมา เพื่อให้ทั้งสองเครื่องติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง (และช่องสัญญาณจะว่าง)3. ถ้าหากเครื่อง C จะส่งข้อมูลให้เครื่อง A บ้าง ก็จะตรวจสอบช่องสัญญาณ ซึ่งจะว่างอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว จากนั้นจะส่งข้อมูลผ่านสวิตซ์ไปยังเครื่อง A อุปกรณ์สวิตซ์จะสร้างวงจรเสมือนระหว่างทั้งสองเครื่องเพื่อให้ส่งข้อมูลกันโดยตรงเช่นกัน เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายๆ แบบเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการทำงานสูงกว่าสวิตซ์ ขั้นตอนในการเซตอัพก็ยากกว่า เราท์เตอร์สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้สายเคเบิ้ลต่างกัน แต่มีโปรโตคอลเหมือนกันได้ เช่น เครือข่ายหนึ่งใช้สาย Coaxial แต่อีกเครือข่ายใช้สาย UTP เราท์เตอร์มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น ระหว่างจังหวัด, ภูมิภาค, ประเทศหรือทวีป โดยผ่ายเซอร์วิสของ WAN, ATM, ISDN,X25



โปรโตคอลมาตรฐานของของระบบเครือข่าย
รู้จักกับโปรโตคอลการที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจนั้น จำเป็นต้องมีภาษาในการสื่อสารโดยเฉพาะ สำหรับภาษาของการสื่อสารในคอมพิวเตอร์เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เป็นระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสาร ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันหรือรับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด โปรโตคอลที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายหลายแบบเช่น NetBEUI ซึ่งเป็นโปรโตคอลอีกตัวหนึ่งที่ใช้ได้ดีในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นหลัก แต่ไม่สามารถทำงานได้เร็วมากนัก นิยมใช้ในระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าอย่าง Windows for Workgroup 3.11 เป็นต้น และก็ยังมีโปรโตคอลอื่นๆ อีกมาก แต่ส่วนมากที่ใช้กันเป็นหลักก็คือโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งแน่นอนว่าใช้ใน Home Network ได้ด้วย TCP/IP จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย การทำงาน TCP/IP จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นขนาดย่อยๆ เรียกว่า "แพ็กเกจ" จากนั้นจึงทยอยส่งกันไปจนถึงจุดหมายปลายทาง เสร็จแล้วจึงจะรวมแพ็กเกจย่อยๆ นั้นเป็นข้อมูลต้นฉบับอีกครั้ง และมีการรับประกันความถูกต้องโดยตัวมันเอง IP Addressการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP นอกจากการทำงานของ TCP/IP แล้ว ยังจำเป็นต้องมีการกำหนดเลขหมายของอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย เพื่อเกิดการอ้างอิงโดยไม่ซ้ำกันจะได้ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เลขหมายดังกล่าวเรียกว่า ไอพีแอดเดรส เป็นตัวเลขหลัก 4 ชุดที่คั่นด้วยจุด เช่น 192.168.0.1 ไอพีแอดเดรสก็เปรียบเหมือนกับเลขที่บ้าน โดยบ้านแต่ละหลังจะต้องมีเลขที่บ้านโดยต้องไม่ซ้ำกัน เพราะถ้าซ้ำกันแล้ว บุรุษไปรษณีย์คงจะส่งจดหมายไม่ถูก สำหรับใน Home Network ของเรานี้ จะเริ่มกำหนดไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 เป็นต้นไป เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 กำหนดไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.0.2 คอมพิวเตอร์เครื่องที่ 2 มีไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.0.2 แบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ต้องไม่เกิน 192.168.0.254 ครับ (คิดว่าคงไม่มีบ้านไหนมีคอมพิวเตอร์ถึง 254 เครื่อง) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเร็วในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ในปัจจุบันมีมาตรฐานที่เรียกว่า Fast Ethernet หัวใจหลักของ Fast Ethernet ก็คือความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mbps (หนึ่งล้านบิตต่อวินาที) และความเร็วขนาด 1000 Mbps หรือ 1 Gbps (พันล้านบิตต่อวินาที) และอาจถึง 10 Gbps ในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับ Home Network ที่แนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จัก และจะเริ่มลงมือปฏิบัติต่อไปนี้ จะเป็นระบบ LAN แบบ Peer to Peer ใช้รูปแบบการเชื่อมต่อแบบสตาร์ โดยใช้สาย UTP และมีอุปกรณ์เพิ่มเติมคือ ฮับ หรือ สวิตซ์ และกำหนดไอพีแอดเดรส เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.1 เป็นต้นไปIEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) และ EIA (Electronics Association) เป็นหน่วยงานสากลที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการออกแบบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กำหนดรูปแบบ การส่งสัญญาณ จะมีโปรโตคอลอยู่ 3 แบบ ด้วยกันคือ• ARCnet • Ethernet • Token Ring • ARCnet หรือ Attached ARCnet Resource Computing Network เป็นโปรโตคอลที่ออบแบบโดยบริษัท Data Point ในช่วงปีคศ.1977 ใช้หลักการแบบ "Transmission Permission" ในการส่งข้อมูล จะมีการกำหนดตำแหน่งแอดเดรสของเครื่องเวิร์กสเตชั่นลงไปด้วย สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus และ Star มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลค่อนข้างน้อยเพียง 2.5 Kbps (2.5 เมกกะบิตต่อวินาที) ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้งานEthernet เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท Xerox ในช่วงปี คศ.1970 ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD(Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) ในการส่งแมสเซจไปบนสายสัญญาณของระบบเครือข่าย ถ้าหากมีการส่งออกมาพร้อมกันย่อมจะเกิดการชนกัน (Collision) ของสัญญาณ ทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที CSMA/CD จะใช้วิธีของ Listen before-Transmiting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องใดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิ้ลอยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิ้ลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไปบนสายเคเบิ้ลโปรโตคอล Ethernet เป็นมาตรฐานของ IEEE 802.3 สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Bus และ Star โดยใช้สาย Coaxial หรือสายทองแดงคู่ตีเกลียว (UTP = Unsheild Twisted Pair) ที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10 Mpbs (10 เมกกะบิตต่อวินาที) ในปัจจุบันได้พัฒนาความเร็วเป็น 100 Mbps มีความยาวสูงสุดระหว่างเครื่องเวิร์กสเตชั่น 2.8 กิโลเมตรในการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปบนสายเคเบิ้ล จะใช้แบบ Machestes Encodeb Digital Base band และกล่าวถึงสัญญาณดิจิตอล 0-1 ในการส่งผ่านไปบนสายเคเบิ้ล Ethernet มีรูปแบบการต่อสายเคเบิ้ล 3 แบบด้วยกันคือ • 10 Base T • 10 Base 2 • 10 Base 5 10 Base T เป็นรูปแบบในการต่อสายที่นิยมมาก "10" หมายถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล (10 เมกกะบิตต่อวินาที) "Base" หมายถึง ลักษณะการส่งข้อมูลแบบ Base band ซึ่งเป็นดิจิตอล และ "T" หมายถึง Twisted Pair (สายทองแดงคู่ตีเกลียว) สรุปแล้ว 10 Base T คือ การใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band ปัจจุบันจะใช้สาย UTP (Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเส้นเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกับ 4 คู่10 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial มีเส้นศูนย์กลาง 1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตร10 Base 5 เป็นรูปแบบในการต่อสายโดยใช้สาย Coaxial ขนาดใหญ่ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว เรียกว่าสาย Thick Coaxial การเชื่อมต่อละจุดจะมี Transcever เป็นตัวเชื่อมและใช้สายเคเบิ้ล AUI เชื่อมระหว่างเครื่องเวิร์กสเตชั่น สายจะมีความยาวไม่เกิน 500 เมตรToken Ring เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท IBM ใช้มาตรฐานของ IEEE 802.5 มีระบบการติดต่อแบบ Token-Passing สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Ring และ Star มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 4/16 Mbps และยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของเครื่องเมนเฟรมได้โดยตรง จากปัญหาที่เกิดการชนกันของสัญญาณ (Collision) เป็นเหตุให้ IBM หันมาใช้สัญญาณ Token เพื่อติดต่อระหว่างโหมด ขั้นตอนการรับ-ส่งข้อมูลแบบ Token-Passing Ring มีดังนี้ • ชุดข้อมูล Token จะถูกส่งให้วิ่งไปรอบๆ วงแหวนของเน็ตเวิร์ก ถ้ามีเวิร์กสเตชั่นเครื่องใดต้องการจะส่งผ่านข้อมูล ก็จะต้องรอจนกว่า Token นั้นว่างก่อน • เมื่อรับ Token ว่างมาแล้ว ก็จะทำการเคลื่อนย้ายเฟรมข้อมูลต่อท้ายกับ Token นั้นแล้วส่งข้อมูลไปยังปลายทาง • เวิร์กสเตชั่นอื่นที่ต้องการจะส่งข้อมูลก็ต้องรอจนกว่า Token จะว่าจึงจะส่งข้อมูลได้ เน็ตเวิร์กโปโตคอลที่ต้องใช้งาน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ จะใช้โปรแกรมโตคอลในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาเส้นทางสนับสนุนการใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1969 โดยเครือข่ายทางทหารของสหรัฐอเมริกาชื่อ ARPANET (Advanced Research Project Agency Network) เพื่อใช้กับระบบเครือข่าย WAN ต่อมาได้นำมาใช้งานเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายสาธารณะขนาดใหญ่หรืออินเตอร์เน็ต TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงสามารถจะค้นหาเส้นทางได้ เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ สามารถจะส่งผ่านข้อมูลข้ามระบบที่ต่างกันได้ เช่น Windows กับ UNIX หรือ Netware หรือ LinuxNetBEUI (NetBIOS Extended Use Interface) เป็นโปตคอลที่พัฒนามาจาก NetBIOS เริ่มใช้งานประมาณปี ค.ศ.1985 ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับเครือข่ายขนาดเล็ก เช่น ระบบ LAN ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 10-200 เครื่อง NetBEUI ไม่สามารถจะค้นหาเส้นทางได้ และทำการ Route ข้อมูลข้ามเครือข่ายไม่ได้ เหมาะสำหรับเครือข่าย LAN แต่ไม่เหมาะกับระบบ WAN ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ Windows 2000 ยังสนับสนุนไคลเอ็นต์รุ่นเก่าที่ใช้โปรโตคอลตัวนี้อยู่IPX/SPX (Intenetwork Packet Exchange/Sequanced Packet Exchange) เป็นโปรโตคอลที่พัฒนามาจาก XNS Protocol (ของบริษัท Xerox Corporation และทางบริษัท Novell ได้นำพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น) จะมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางสำหรับเครือข่ายระบบ LAN และ WAN ทางไมโครซอฟท์ก็สนับสนุนโปรโตคอลตัวนี้แต่เรียกว่า NWLink IPX/SPX Compatible Transport Protocol ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ Netware สามารถใช้งานฐานข้อมูล SQL Server บน Windows NT ได้ หรือการเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ SNA ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Mainframe ของ IBMDLC (Data Link Control) เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบพัฒนาโดยบริษัท IBM เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อสื่อสารกับเครื่องเมนเฟรมของ IBM,AS/400 ที่ใช้สถาปัตยกรรมเครือข่าย SNA (System Network Architecture)



รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย
การเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายแบบ Ethernet นิยมใช้การเชื่อมต่อแบบ Star ซึ่งเป็นตามมาตรฐานของ 10Base T โดยมีฮับเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงสัญญาณต่างๆ ของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน หมายความว่าสัญญาณหรือข้อมูลจากเครื่องต้นทางจะต้องผ่านอับก่อนทุกครั้ง แล้วจะส่งข้อมูลนั้นไปยังเครื่องปลายทาง ฮับเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว 10-100 MB./Sec (เมกกะบิตต่อวินาที) และยังสามารถจะนำฮับหลายตัวมาพ่วงต่อกันได้อีกด้วยการทำงานพื้นฐานของ HUB จากที่กล่าวไว้ว่า โพรโตคอล Ethernet ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With Collision Detection) โดยจะใช้วิธีของ Listen before Transmitting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่าขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องไดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิลอยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไปบนสายเคเบิล (เพื่อป้องกันการชนกัน Collision ของสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที)รูปแบบการเชื่อมต่อ HUB ในการนำฮับมาใช้งานนั้นจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานก่อน เช่น ความยามของสาย UTP จากเครื่องถึงฮับ ความยาวของสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ 2 ตัว จำนวนสูงสุดของฮับที่สามารถใช้ต่อพ่วงได้ การจัดวางฮับให้เหมาะสม และอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับสถานที่และการใช้งานการเชื่อมต่อพื้นฐาน การเชื่อมต่อสายแลนด์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มายังฮับ ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน) จำนวนฮับที่ต่อแบบคาสเคด ตามทฤษฎีแล้วอับแบบ 10 MB/sec (10 เมกกะบิตต่อวินาที) จะสามารถนำมาต่อพ่วงแบบคาสเคดได้ไม่เกิน 4 ตัว โดยที่ระยะทางระหว่างฮับแต่ละตัวจะไม่เกิน 100 เมตร และสายแลนแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับต้องไม่เกิน 100 เมตรเช่นกัน รวมระยะทางแล้วทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันถึง 500 เมตร แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ควรเกิน 400 เมตร (โดยไม่ให้ความยาวแต่ละช่วงเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันการรบกวน) ถ้าต้องการต่อพ่วงฮับเกิน 4 ตัว ควรจะใช้ Stackable HUB หรือเปลี่ยนไปใช้สวิตซ์ (Switch) แทนการเชื่อมต่อในอาคาร สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่อยู่ตามตึกอาคารหลายชั้น และมีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หลายสิบหลายร้อยเครื่องกระจายอยู่ในแต่ละชั้น Admin จะต้องวางแผนในการเชื่อมต่อให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและสะดวกในการแก้ปัญหา โดยจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้ • เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแผนก ในแต่ละชั้นมีจำนวนเท่าไร? • จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในบริษัท หรือหน่วยงาน • จำนวนฮับทั้งหมดที่ต้องใช้งาน • ระยะทางจากชั้นล่างขึ้นไปถึงชั้นบานสุดเป็นกี่เมตร • การติดตั้งฮับแบบต่อพ่วงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารนี้ Admin ต้องติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องควบคุมส่วนตัว หรือเป็นห้องของศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีตู้ Rack Switches สำหรับเชื่อมต่อกับ Hub/Switch ในแต่ละชั้น โดยใช้สาย Fiber Optic ในการเชื่อมต่อ และในแต่ละชั้นก็อาจจะใช้ Hub หรือ Switch ในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือระยะทางระหว่างฮับต้องไม่ควรเกิน 80 เมตร รวมทั้งระยะทางระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรเกิน 80 เมตรเช่นกัน ถ้าเป็นตึกขนาด 20 ชั้น และต้องใช้จำนวน 10 ตัว เพื่อความสะดวกอาจจะนำฮับมาวางไว้ในชั้นที่ 10 เพื่อง่ายในการดูแล แต่อย่าลืมว่าถ้าห้องศูนย์คอมฯ อยู่ชั้นที่ 2 แล้วคอมพิวเตอร์ในชั้นที่ 4 มีปัญหา เราต้องเดินหรือขึ้นลิฟต์มาที่ชั้น 10 เพื่อตรวจดูฮับ แต่ถ้าเรากระจายฮับไปไว้ในชั้นคู่ เช่น ชั้น 2, 4, 6, 8… จะช่วยให้เสื้อเชิ้ตของเราไม่ต้องชุ่มเหงื่อและง่ายในการทำงานอีกด้วย เทคนิคการเชื่อมต่อ HUB Admin บางคนอาจจะพบปัญหาที่ผู้ใช้โทรมาบอกบ่อยๆ เช่น บางทีก็รับไฟล์ข้อมูลไม่ได้ หรือได้มาก็ไม่สมบูรณ์ บางครั้งแมปไดร์ฟบนเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ทั้งทีเมื่อวานยังใช้งานอยู่ what happen? มันเกิดอะไรขึ้นครับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อของสายระหว่างฮับกับเครื่องไม่ดี หนูไปกัดแทะสายแลนด์เกือบขาด เดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟของตัวอาคาร หรือจัดวางฮับในการต่อพ่วงไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติแล้วเครื่องไคลเอนต์ 2 อาจจะได้รับข้อมูลช้าหรือได้ข้อมูลที่ไม่ครบ 100% เนื่องจากระยะทางจากฮับ A ไหลจากฮับ D พอสมควร วิธีแก้ไขเบื้องต้นมีดังนี้ • ห้ามเดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟฟ้าของตัวอาคาร เพราะจะเกิดการรบกวนอย่างแน่นอน • การเดินสายแลนด์ไว้บนฝ้าเพดาน จะต้องมีท่อร้อยสายเพื่อป้องกันหนูมากัดแทะสาย • ควรใช้สาย UTP CAT5 และหัวต่อ RJ-45 ที่มีคุณภาพ อย่าใช้ของถูกหรือของปลอม และตรวจการเข้าหัว RJ-45 กับสายแลนด์ให้ดี โดยใช้เครื่องมือ Testet เช่น Mux • ไม่ควรเผื่อสายแลนด์ไว้ยาวเกินไป แต่ควรเข้าสายเผื่อเอาไว้ซัก 2-3 เมตร สำหรับการย้ายเครื่อง • จัดวางฮับในการต่อพ่วงให้เหมาะสม และห้ามต่อพ่วงเกิน 4 ตัว มิเช่นนั้นให้เปลี่ยนไปใช้ Switch



ตั้งค่า Network ให้ Windows
สำหรับในส่วนนี้จะแบ่งการติดตั้งไว้สองแบบ แบบแรกเป็นการตั้งค่าให้กับ Windows 2000/XP อีกแบบคือการตั้งค่าให้กับ Windows 95/98/ME และสำหรับการใช้ Windows 2000/XP คุณผู้อ่านจะต้องล็อกอินเข้าวินโดวส์ในฐานะ Administrator มิฉะนั้นจะตั้งค่าต่างๆ ไม่ได้ครับตั้งค่า Network ให้ Window 2000/XP 1. คลิ้กปุ่ม Start -> Control Panel ดับเบิ้ลคลิ้กไอคอน Network Connections จากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิก Local Area Connection
2. คลิ้กปุ่ม Properties ให้ทำเครื่องหมายหน้าส่วนประกอบเหล่านี้ ได้แก่ Client For Microsoft Networks, File and Printer Sharing for Microsoft Networks และ Internet Protocol (TCP/IP) ให้เลือก Internet Protocol (TCP/IP) แล้วคลิกปุ่ม Properties 3. เลือกหัวข้อ Use the following IP address: จากนั้นในช่อง IP Address: ให้ใส่ไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 ในเครือข่าย คือ 192.168.0.1 ช่อง Subnet mask : ใส่ 255.255.255.0 คลิ้กปุ่ม OK และ OK อีกครั้ง สำหรับไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปให้กำหนดเป็น 192.168.0.2 และ 192.168.0.3 ตามลำดับ (เปลี่ยนแค่เลขตัวสุดท้าย) เรียงต่อไปเรื่อยๆ ในเครือข่ายนี้ห้ามกำหนดไอพีแอดเดรสที่ซ้ำกันส่วน Subnet mask ให้ใช้ค่าเดิม4. เปิด Control Panel ให้ดับเบิลคลิ้กไอคอน System เลือกแถบ Computer Name คลิ้กปุ่ม Change… แล้วกำหนดชื่อเครื่องในช่อง Computer name: จากนั้นเลือกหัวข้อ Workgroup: ใส่ชื่อเวิร์กกรุ๊ปลงไป ต่อมาจะพบว่าชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับชื่อเวิร์กกรุ๊ปจะเปลี่ยนไปแล้วรีสตาร์ตคอมพิวเตอร์ ตั้งค่า Network ให้ Windows 95/98/ME1. คลิ้กปุ่ม Start -> Control Panel ให้ดับเบิลคลิ้กไอคอน Network ที่แถบ Configuration ให้ติดตั้ง Components ทั้ง 4 รายการคือ Client for Microsoft Networks, การ์ด LAN, TCP/IP และ File and printer sharing for Microsoft networks โดยคลิ้กปุ่ม Add แล้วเลือกรายการ Components ให้ครบ 2. เลือก TCP/IP คลิ้กปุ่ม Properties เลือกแถบ IP Address คลิ้กหัวข้อ Specify an IP Address กำหนดไอพีแอดเดรส 192.168.0.2 (สมมุติว่าได้มากำหนดให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกในระบบ) และ Subnet Madk เป็น 255.255.255.0 3. กำหนดชื่อเครื่องและเวิร์กกรุ๊ป เลือกแถบ Indentification แล้วตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่อง Computer name: ตั้งชื่อเวิร์กกรุ๊ปในช่อง Workgroup: สุดท้ายให้คลิ้กปุ่ม OK และรีสตาร์ตคอมพิวเตอร์ 4. หลังจากรีสตาร์ตคอมพิวเตอร์แล้วจะพบกับหน้าต่างล็อกอิน ให้ใส่ User name และ Password เสร็จแล้วคลิ้กปุ่ม OK ให้คอมพิวเตอร์เชื่อมเข้าสู่ระบบ หากไม่ยอมล็อกอินแต่คลิ้กปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิก ก็จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ แต่สำหรับ Home Network ของเรานี้ จะเน้นความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ดังนั้นให้ใส่ Use name และ Password เป็นอะไรก็ได้แต่ถ้าจะให้ง่ายขึ้นไปอีก ก็ปิดหน้าต่างล็อกอินนี้ไม่ให้ขึ้นมาอีกเลยจะดีกว่า โดยการ เปลี่ยนจาก Client for Microsoft Networks เป็น Windows Logon ในช่อง Primary Network Logon เพื่อให้ Windows ทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบโดยตัวมันเอง
ทำการกำหนดไอพีแอดเดรสจนครบทุกเครื่องคุณผู้อ่านต้องกำหนดเองว่าจะให้เครื่องมีหมายเลขไอพีแอดเดรสอะไร เพียงแต่อย่ากำหนดให้ซ้ำกัน และหากต้องการให้คอมพิวเตอร์ใน Home Network ของคุณผู้อ่านต้องการใช้อินเทอร์เน็ตด้วยแล้วขอแนะนำให้ไปกำหนดไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 ที่เครื่องที่มีโมเด็มติดตั้งไว้ทดสอบการเชื่อมต่อ หลังจากที่ติดตั้งระบบตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ต่อไปจะทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อกันของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยเราจะใช้คำสั่ง Ping เป็นคำสั่งในการตรวจสอบการทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายว่าเชื่อมต่อกันได้หรือไม่ ผมจะทดสอบจากเครื่องที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 ให้ติดต่อมาไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.2 ไปที่ เครื่องที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 จากนั้นเปิด MS-Dos Prompt หรือ Command Prompt แล้วพิมพ์ว่า ping 192.168.0.2 กดปุ่ม Enter ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.2 ส่งสัญญาณกลับมา แต่ถ้าเกิดการผิดพลาดไม่สามารถติดต่อกันได้ก็จะไม่พบการตอบรับใดๆ ต้องทำการแก้ไขให้ถูกต้องตรวจสอบข้อมูล Network เราสามารถตรวจดูได้ว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นมีไอพีแอดเดรสและชื่อเครื่องชื่ออะไร โดยที่ Windows 2000/XP เปิด Command Prompt พิมพ์ว่า ipconfig /all กดปุ่ม Enter แล้วจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ Network ซึ่งเห็นว่ามีไอพีแอดเดรสกับชื่อเครื่องปรากฏอยู่ ส่วน Windows 95/98/ME คลิกปุ่ม Strat > Run พิมพ์คำสั่ง Winipcfg คลิกปุ่ม OK โปรแกรม IP Configuration จะแสดงขึ้นมา โดยมีไอพีแอดเดรสปรากฏอยู่ และถ้าคลิกปุ่ม More Info ก็จะมีรายละเอียดที่มากขึ้น



ที่มาของข้อมูล



realdev.truehits.net